วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มาซีเต๊าะ บูดี: Chalte Chalte

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: Chalte Chalte ชุดที่ 3
ศิลปิน: มาซีเต๊าะ บูดี
รายชื่อเพลง:
หน้า A
01 Rukun Iman
02 ช้ำรักเมืองยะลา
03 Tiada Beramal
04 Marilah Adik
05 Ampunilah
06 Harapan Baru
07 Apa Salah Dirimu
08 Anak Tiri
หน้า B
01 Isdunia
02 Turutha To
03 Aja
04 Chalte Chalte
05 Sajna
06 Janji Jaman

มาซีเต๊าะ บูดีกับอัลบั้มชุดที่ 3 ของเธอ (บันทึกเสียงในระบบดอลบีที่จะตัดเสียงรบกวนขณะทำการบันทึกเสียง) ที่ว่ากันว่าประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ และได้สร้างชื่อเสียงให้เธอเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ในยุคนั้นช่วง 2530-2534) lesiy[เพลง Chalte Chalte เข้าใจว่าเป็นเพลงจากภาพยนตร์อินเดียเรื่อง "Chalte Chalte" ซึ่งออกฉายในปี คงศ. 1976 (พ.ศ. 2519) สำหรับในภาพยนตร์ เพลงนี้ขับร้องโดย Kishore Kumar นักร้องชาวอินเดียเพลงภาพยนตร์ผู้โด่งดังในอดีต

เพลงต่าง ๆ ในอัลบั้มชุดนี้ของมาซีเต๊าะนั้น ประกอบด้วยเพลงหลายประเภท เช่น เพลงลูกทุ่ง (ช้ำรักเมืองยะลา) เพลงดิเกร์มิวสิค (เพลงภาษามลายู) และเพลงภาพยนตร์อินเดียหรือเพลงฮินดูสถาน (ในหน้า B ของเทปคาสเซต) บนปกเทปของอัลบั้ม Chalte Chalte ยังปรากฎนักดนตรีคนสำคัญ (คนที่เล่นคีย์บอร์ดไฟฟ้า-คนกลาง) ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญในการปลุกปั้นนักร้องประดับวงการเพลงในจังหวัดชายแดนภาคใต้มามากมาย นั่นคือ "ฮาซัน ตานี" ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักดนตรีและนักเรียบเรียงเสียงประสานในอาณาจักรความบันเทิงสมัยใหม่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านผู้ติดตามคงอยากลองฟังเสียงมาซีเต๊าะกันแน่ แต่คงต้องอดใจรอไปก่อน เพราะตอนนี้ผมยังไม่รู้วิธีที่จะบันทึกเสียงซึ่งมีแต่ในเทปคาสเซตอย่างไร แต่น่าจะไม่นานหรอกครับ

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มะเยะ อาเนาะซีงอ: อาเนาะ กัมปง

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: อาเนาะ กัมปง
ศิลปิน: มะเยะ อาเนาะซีงอ
รายชื่อเพลง:
หน้า 1
01 กูลา อีแก ปูยู*
01 กือเล๊ะห์ ตะ ปูวัส กือเล๊ะห์
02 ดือแรยา แกตอ
03 อาเนาะ กัมปง
04 ตาโกะ อามอ ตะ ปาแย
05 ปูลา ยือ ยาปี
06 ปือยาเกต อัสรามอ
07 สามอ กู รีดบ
หน้า 2
01 ซือบือลม ปาดามูเร๊ะ
02 ลูตุ กือรัส
03 ฮัรตอ จูรี
04 อากู ยูโย ปาดา อิสตรี
05 ซือยุม มานิ ชราจน มีซอ
06 ซาวด์คาราโอเกะ 1.40 นาที

"มาเยะ อาเนาะซีงอ" คือราชาเสียงทองคนแรกของวงการเพลงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อนหน้าการขึ้นมาของบารูดิง แต่การจากไปอย่างรวดเร็วของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ในปี พ.ศ. 2536 ทำให้เขากลายเป็นตำนานนักร้องผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงน้อยมาก อีกทั้งแทบไม่มีการบันทึกชีวประวัติของศิลปินท่านนี้มากนัก อย่างไรก็ดี เสียงอันไพเราะของมะเยะนั้น ยังคงปรากฏในผลงานเพลงของเขาที่ยังพอหาฟังได้ในปัจจุบัน แม้ว่าเขาออกเทปคาสเซตเพลงในแนวดิเกร์มิวสิคกับบริษัทซาวด์สตาร์เพียงสามอัลบั้มเท่านั้น มะเยะ อาเนาะซีงอ คือ "ตูแฆกาโระ" หรือคนขับร้องเพลงดิเกร์ฮูลูที่มีชื่อเสียงอย่างมากนับตั้งแต่ทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา และอาจเป็นศิลปินชาวมลายูจากนราธิวาสคนแรกที่ได้รับการบันทึกเสียง แต่ในอัลบั้มเพลงดิเกร์มิวสิคนี้รับอิทธิพลจากเพลงป๊อปอินโดนีเซีย (pop Indonesia) และเพลงลูกทุ่งของไทยอย่างชัดเจน


* สำหรับเพลง "กูลา อีแก ปูยู" (แกงปลาหมอ) ซึ่งถูกใส่เพิ่มมาใหม่ในเพลงชุดนี้ เป็นเพลงที่ร้องในภาษาถิ่นกลันตัน-ปัตตานีด้วยทำนอง (melody) เพลง "Janewo Zara" จากภาพยนตร์อินเดียเรื่อง Dosti (เพื่อนแท้ ) ที่ออกฉายในปีพ.ศ. 2503 (1960) ต้นฉบับเพลงกูลา อีแก ปูยู นี้ถูกขับร้องในแนวดิเกร์ฮูลูโดย "ตูแฆกาโระ" ผู้หญิงจากกลันตันที่ชื่อว่า "ฟารีดา บ็อบบี้" แต่ว่ากันว่าเวอร์ชั่นของมะเยะนั้นไพเราะและได้รับพูดถึงกันมากที่สุด โดยเคยออกผ่านคลื่นวิทยุท้องถิ่นในกลันตันช่วงทศวรรษ 2510 (1970) อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ เรายังไม่มีหลักฐานที่หนักแน่นพอให้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว (ผมจะเขียนถึงเพลงกูลา อิแก ปูยู เพิ่มเติมในภายหลัง)

บารูดิง & ซารีฟะห์: คอนเสริตดิเกร์ ชุด 2

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: บารูดิง & ซารีฟะห์ คอนเสิร์ตดิเกร์ ชุด 2
ศิลปิน: บารูดิง & ซารีฟะห์
รายชื่อเพลง:
หน้า 1
01 บีนิง บารู
02 ฆีลอกะ ออแฆ บูแย
03 บูงอ ลายู
04 มารือ ดูลู
05 บอมอ กาปง
06 มาโบ๊ะ ออแฆ บีเล๊ะ
07 กาลู กือแนกะ อามอ
08 ชายลูปอ
หน้า 2
01 มาอะ ซึกาลี
02 มานอ กาตอ ซาแย
03 นาซิ ปือนะ บูดู
04 สุงาโกลก
05 อากู รินดู
06 อากู บือยันยิง
07 ตีนอ ลาวา

บารูดิงในวัยหนุ่มและซารีฟะห์อดีตภรรยาของเขา (ปัจจุบันนี้ซารีฟะห์เลิกร้องเพลงแล้ว) ทั้งสองออกเทปคู่กันเป็นชุดที่ 2 ซึ่งออกมาประมาณช่วงต้นทศวรรษ 2530 บารูดิงโลดเล่นอยู่ในวงการเพลงมานานกว่า 30 ปี โดยเริ่มต้นอาชีพร้องเพลงในฐานะ "ตูแก กาโระ" (Tukang Karut) ของคณะดิเกร์ฮูลูในนราธิวาส ต่อมา เขาได้หันไปร้องเพลงดิเกร์มิวสิค ซึ่งก็ได้ทำให้บารูดิงกลายเป็นที่ยอมรับของแฟนเพลงชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้เสมอมา กระทั่งเขาได้รับการยกย่องว่าเป็น "ราชาเสียงทอง" ของวงการเพลงดิเกร์มิวสิคอย่างไม่มีใครเทียบได้ บารูดิงออกอัลบั้มทั้งในแนวดิเกร์ฮูลูและดิเกร์มิวสิคในรูปแบบเทปคาสเซต ซีดีและวีดีซี โดยทำการบันทึกเสียงในไทยและในมาเลเซีย (กลันตัน) รวมทั้งสิ้นกว่า 77 อัลบั้ม นอกจากนั้น มีการกล่าวกันว่าเพลงของบารูดิงนั้นเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาเปอมินัท (ผู้ฟัง) ที่เป็นผู้ชายอย่างมาก เนื่องจากมีเนื้อร้องเป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ฟังชายมากกว่าผู้หญิง โดยเนื้อร้องส่วนมากก็มักจะเกี่ยวกับการหยอกล้อผู้หญิง การผิดหวังในความรัก เรื่องตลกหยาบโลน และความยากลำบากในชีวิต ทุกวันนี้ บารูดิงในวัย 57 ปี ยังคงรับงานแสดงอยู่บ้างตามงานแต่งงานและงานรื่นเริงต่าง ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มูนีเราะห์: บานา ยาลา

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: มูนีเราะห์ ชุดที่ 7 บานา ยาลา (พ.ศ. 2547)
ศิลปิน: มูนีเราะห์
รายชื่อเพลง:
01 บานา ยาลา
02 ลากี ฮาโละห์
03 ซูเดาะห์ มาตี
04 โอ มารีละห์
05 ซือซา ดีรี
06 โดนียอ ซูกอ
07 สือกอลอฮ์
08 มิมปี
09 ฮาละ กือซายน์
10 ซือเดะห์ ดี ฮาตี
11 ซูปอ ปาซา มีมู
12 โมนาลีซา
13 ซือซา เตาะ ฆูนอ
14 ปือยายี

วันนี้, ผมขอพูดถึงมูนีเราะห์อีกครั้งหนึ่ง สำหรับนักร้องชาวอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสคนนี้ บางทีเราอาจจะเรียกเธอว่าเป็น "ราชินีเพลงดังดุตแห่งจังหวัดชายแดนภาคใต้" ก็ได้ แม้ว่ามูนีเราะห์จะมีความสามารถในการร้องเพลงได้หลากหลายแนว แต่โดยหลัก ๆ แล้ว ก็เป็นเพลงดิเกร์มิวสิคและเพลงดังดุท ยุคที่รุ่งเรืองสุดของเธอนั้น ว่ากันว่าอยู่ในช่วงที่ทำเพลงออกเป็นแผ่นวีซีดี หรือเป็นช่วงที่เทปคาสเซตถูกแทนที่ด้วยแผ่นซีดีและวีซีดีแล้ว มูนีเราะห์ให้เหตุผลว่า "เพราะผู้ฟังสามารถชมท่าเต้นและดูหน้าตาของเธอได้" มูนีเราะห์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งฝั่งไทย (โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้) และในประเทศมาเลเซีย (โดยเฉพาะรัฐกลันตัน) เธอมักได้รับคำเชิญไปแสดงในประเทศมาเลเซียอยู่บ่อย ๆ  ครั้ง รวมทั้งเคยออกอัลบั้มร่วมกับนักร้องท้องถิ่นจากกลันตันอีกด้วย เพลงส่วนใหญ่ของมูนีเราะห์นั้น ได้รับอิทธิพลจากดนตรีอันหลากหลาย โดยเฉพาะเพลงภาพยนตร์อินเดีย เพลงลูกทุ่ง และเพลงดังดุตจากอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม ยุคหลัง ๆ มูนีเราะห์รับอิทธิพลเพลงดังดุทของอินโดนีเซียอย่างเข้มข้น ผลงานของเธอส่วนใหญ่ก็จะเป็นแนวเพลงดังดุต ถ้าสังเกตท่าเต้นอันเป็นเอกลักษณ์ในเพลงดังดุตของเธอแล้ว สันนิษฐานได้ว่า มูนีเราะห์คงรับเอาอิทธิพลจากกระแสเพลงดังดุตอินโดนีเซียยุคหลังซูฮาร์โตอย่างมาก บางทีนักร้องเพลงดังดุตผู้อื้อฉาวอย่างอีนูล ดาราติสตา (Inul Daratista) อาจมีอิทธิพลต่ออาชีพนักร้องของมูนีเราะห์ในช่วงหลังทศวรรษ 2540 ไม่มากก็น้อย แม้ว่ามูนีเราะห์อาจไม่ได้ถึงกับกลายเป็น "ราชินีควงสว่าน" แบบอีนูลก็ตาม

มาซีเต๊าะ บูดี: ม้าเพื่อนรัก

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: มาซีเตา๊ะ บูดี ชุดที่ 7 ม้าเพื่อนรัก
ศิลปิน: มาซีเต๊าะ บูดี
รายชื่อเพลง:
หน้า A
01 Tee Ri Meri
02 Jebe Hum (ม้าเพื่อนรัก)
03 ช้างเพื่อนแก้ว
04 Rim Jim De
05 Love Stori
06 Kee Satira Pyar
07 Tau Ba
หน้า B
01 Duhai Kawanku
02 Jangan Kau Cari
03 Lamanya Kau
04 Tiada Berkenalan
05 Dengar Nasihat
06 Suka Hatiku
07 Kisah Ibuku
08 Seorang Anak Pemudi

มาซีเต๊าะ บูดี เป็นนักร้องสาวมลายูที่ได้รับการยกย่องว่ามีน้ำเสียงคล้ายคลึงกับลาต้า (Lata Mangeshkar)* นักร้องชาวอินเดียอย่างมาก นอกจากนั้น เธอมีพรสวรรค์ในการร้องเพลงอินเดีย (ภาษาฮินดี) เหมือนกับเพลงต้นฉบับราวกับเป็นคนอินเดียอีกด้วย และในช่วงที่มาซีเต๊าะกำลังโด่งดังอยู่นั้น เถ้าแก่ของเธอหรือที่รู้จักกันในชื่อ "แบเล็ง" (คำรณ จรรโลงศิลป) ได้พามาซีเต๊าะรวมทั้งรัม บาชะเอ นักร้องเพลงอินเดียชายอีกคน ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีน้ำเสียงคล้ายกับมะราฟี (Mohammed Rafi) ไปทดสอบเสียงที่บริษัทเพลง อาเอส โปรโมชั่น จำกัด อีกด้วย แต่น่าเสียดายที่มาซีเต๊าะได้เสียชีวิตลงเสียก่อน ในอัลบั้มนี้มาซีเต๊าะร้องเพลงในภาษามลายูและภาษาฮินดี ซึ่งสำหรับเพลงภาษาฮินดีทั้งหมดนั้น เป็นเพลงในภาพยนตร์อินเดียชื่อดังที่ออกฉายราวช่วงทศวรรษ 2520

* Lata Mangeshkar (1929-ปัจจุบัน) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงและได้รับความเคารพนับถืออย่างมากในอินเดีย รวมทั้งยังเป็น playback singer ในภาพยนตร์ที่ใช้ภาษาฮินดีอีกด้วย 
** Mohammed Rafi (1924-1980) ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดนักร้องอินเดีย หรือ playback singer แห่งแวดวงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮินดี

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รวมศิลปินดาวรุ่งอิลฟานมิวสิค

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: รวมศิลปินดาวรุ่ง อิลฟานมิวสิค
ศิลปิน: มะ บอมบอม, นิฟาดือลี, มะยี, บารูดิง, ปะจูจิมมี่ ร็อคเกอร์, นาเดีย, และยัสมี
รายชื่อเพลง:
01 สือลามัต ฮารี รายอ (มะ บอมบอม, นิฟาดือลี, มะยี, บารูดิง, ปะจูจิมมี่ ร็อคเกอร์)
02 ปีเก (นิฟาดือลี)
03 กือทุง โต๊ะแว (ปะจูจิมมี่ ร็อคเกอร์)
04 บือรอนา (นิฟาดือลี)
05 ฆือมาลอ ลือมู (ปะจูจิมมี่ ร็อคเกอร์)
06 มาลู (นาเดีย)
07 สือญาเราะห์ กาเสะห์ (นิฟาดือลี)
08 เวาะ เวาะ (ปะจูจิมมี่ ร็อคเกอร์)
09 อาปี มาแก สือแก (นาเดีย)
10 ตะฆูนอ ปีเก (นิฟาดือลี)
11 ญอแฆะ ดังดุ (นาเดีย, ยัสมี, และนิฟาดือลี)
12 ตาฮิ บือซี (ปะจูจิมมี่ ร็อคเกอร์)
13 ---------- (นาเดีย & นิฟาดือลี)
14 อีบู ตีงา อาเนาะ (ปะจูจิมมี่ ร็อคเกอร์)

สตูดิโออิลฟานมิวสิคคือห้องบันทึกเสียงอิสระที่ทำการบันทึกเสียงให้แก่บรรดาศิลปินต่าง ๆ และนี่ก็เป็นเพลงดิเกร์มิวสิคชุดพิเศษที่ได้รวมเอาทั้งศิลปินหน้าเก่าและรุ่นใหม่หลายคนมารวมไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ในอัลบั้มนี้มีความหลากหลายของอิทธิพลเพลงแนวต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น เร็กเก้ (Reggae), ดังดุท (Dangdut) และอื่น ๆ

มะเย็ง ช็อปเปอร์ (Matyeng Shopper): ดีที่สุด Special one

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้มดีที่สุด  Special one  
ศิลปิน: มะเย็ง ช็อปเปอร์ (Matyeng Shopper)
รายชื่อเพลง:
01 ออแร ลาวา (คนสวย)
02 นะเซะ จือดือรอ 
03 อีงะ กือมาตี
04 ตือมู แวปาเนาะ
05 วอเก ระยะ (ผู้แทนฯ)
06 แซวอ รูเมาะห์ (เช่าบ้าน)
07 แตเงาะ ยูริง มาตอ
08 บีนิง จือลากอ
09 ตีนอ ตีปู
10 ตีงา ยาโฮว์
11 บีนิง บูเละ ฆีเละ
12 แนฆอ อาเนาะ
13 ตีนอ ซือกาแร (ผู้หญิงสมัยนี้)
14 ยีวอ ปือรัส 

มะเย็ง ชอปเปอร์ เป็นนักร้องอีกคนหนึ่งที่เข้ามาอยู่ในวงการเพลงมลายูอย่างยาวนาน และออกอัลบั้มเพลงดิเกร์มิวสิคมามากกว่า 30 อัลบั้ม (ทั้งเทปคาสเซตและวีซีดี) ในอัลบั้มนี้ น่าจะเป็นการหยิบเอาเพลงเก่า ๆ มาปัดฝุ่นทำดนตรีใหม่ และก็เป็นชุดเดียวที่มะเย็งร่วมงานกับนายทุนที่ชื่อเฮียฉุย แห่งบริษัท โอเชียน D&M 2002 

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ฮัจญี ฟารีดะห์ กำปงปีแซ & แอมมี ฟาราห์ (Hajji Faridah Kampongpisang and Ammy Farah)



อัลบั้ม: อนาซิด Vol. 02
ศิลปิน: ฮัจญี ฟารีดะห์ กำปงปีแซ, แอมมี ฟาราห์ และคณะ
รายชื่อเพลง:
01 Terguncang
02 Cinta Karena Allah
03 Di Mana-mana Dosa
04 ไม่มีใครยืนยง
05 Punggut Merindukan Bulan
06 Damai
07 Ingin Selamat
08 Bulan Purnama
09 Usha Dan Doa
10 Jangan Cermin Di Air Keruh

วีซีดี (VCD) อัลบั้มเพลงอนาซิดหรือนาสซิด (Nasyid) ของฮัจญี ฟารีดะห์ กำปงปีแซ หรือที่เรารู้จักกันในนาม ดะห์ กำปงปีแซ และลูกสาวคนสุดท้องของเธอ แอมมี ฟาราห์ และเพื่อน ๆ ออกมาหลังจากที่ดะห์ กำปงปีแซ กลับมาจากการแสวงบุญ (พิธีฮัจญ์) ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ดะห์ได้เลิกร้องเพลงที่เกี่ยวกับทางโลกทุกแนวหลัง ยกเว้นร้องเพลงในแนวสรรเสริญศาสนาอิสลาม นั่นก็คือเพลงนาสซิด (Nasyid) ปัจจุบันเธอยังรับการไปร้องเพลงนาสซิดตามงานเมาลิดและงานบุญต่าง ๆ ทางศาสนา

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กี บลูสตาร์ (Kie Bluestar): Sedih Di Hati

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: กี 3 Sedih Di Hati  (พ.ศ. 2534)
ศิลปิน: กี บลูสตาร์
รายชื่อเพลง:
หน้า A
01 Angin Perasang
02 Aku Cinta
03 Apa Ilmu
04 Kasih Tunang Orang
05 Temuan Kita
06 Menengun Di Tangga
หน้า B
01 Nagara Thai
02 Pertama Kali
03 Mau Kemana
04 Jangan Kau Jatuh Cinta
05 Sayang
06 Berpura-pura
07 Saura Musik
08 Lagu-lagu Bluestar
09 ลัมบาด้า

กี บลูสตาร์ ชาวจังหวัดปัตตานี เข้าสู่วงการเพลงมลายูตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2520 เขาคือหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงดนตรีบลูสตาร์และมีฐานะเป็นนักร้องประจำวง กีเป็นสามีของมาซีเต๊าะ บูดี อดีตนักร้องเพลงอินเดียในตำนานผู้ล่วงลับ วิธีการร้องของกีนั้นได้รับอิทธิพลจากเพลงอินเดียอย่างสูง ทำให้น้ำเสียงของกีมีเอกลักษ์เฉพาะตัวในการร้องเพลง และในอัลบั้มนี้เมื่อพิจารณาชื่อเพลงต่าง ๆ อาจคาดเดาได้ว่าส่วนใหญ่ของเพลงน่าจะมาจากเพลงป็อปอินโดนีเซีย (Pop Indonesia music) แต่กระนั้น เรายังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเทปชุดนี้มากนัก อัลบั้มเพลงดิเกร์มิวสิคชุดนี้ของกี บลูสตาร์ ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งอยู่ในช่วงต้นของยุคทองในวงการเพลงดิเกร์มิวสิค ในปัจจุบันกีไม่ได้ออกอัลบั้มเหมือนเช่นเมื่อก่อน แต่เขาก็เขียนเพลงให้นักร้องใหม่หลายคน

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รอฟู, ฟุรกอน, และแอมมี ฟาราห์ (Rofu, Furkon, and Ammy Farah ): สามพี่น้อง

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: 3 พี่น้อง
ศิลปิน: รอฟู, แอมมี ฟาราห์, และฟุรกอน
รายชื่อเพลง:
01 ตรีมอ กาเซะ  บือมีนะกู (รอฟู)
02 บือยอแฆะ (ฟุรกอน)
03 มีปี อูลา (แอมมี ฟาราห์)
04 ซินามิ (รอฟู)
05 กูซือกอ (ฟุรกอน)
06 จอแมแว (รอฟู)
07 ยอลี (ฟุรกอน)
08 อุสฮอ มืองายี (รอฟู)
09 แดมอ ออแร จอแม (แอมมี ฟาราห์)
10 บือแฆแว (ฟุรกอน)
11 อีบู (รอฟู)
12 มืองายี (ฟุรกอน)

อัลบั้มพิเศษโดยสามพี่น้องทายาทของดะห์ กำปงปีแซ และอ.ซาลี ครอบครัวนักดนตรีที่สืบทอดเชื้อสายทางดนตรีจากรุ่นสู่รุ่น และภายใต้การผลักดันของอดีตตำนานเพลงอย่างดะห์ กำปงปีแซและอ.ซาลี ทำให้ทายาทของพวกเขาทั้งสามคนเข้าสู่วงการเพลงตั้งแต่ยังเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอมมี ฟาราห์ เธอได้กลายเป็นดาวดังดุท (Dangdut) ที่มีคนพูดถึงอยู่ไม่น้อย รวมทั้งเคยร้องดังดุทประชันกับนักร้องดังดุทชาวอินโดนีเซียอีกด้วย

เปาะเต๊ะ กูแบอีแก (Pokteh Kube-ike): ออแร จารี เต๊าะแก

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: ออแร จารี เต๊าะแก (พ.ศ. 2553)
ศิลปิน: เปาะเต๊ะ กูแบอีแก, รุสดี นรา, และซูนีตา
รายชื่อเพลง:
01 อาแบ ปือแน ปาดี อาเด๊ะ บือแน ฆาเระ (เปาะเต๊ะ กูแบอีแก& ซูนีตา)
02 คนหาตุ๊กแต (เปาะเต๊ะ กูแบอีแก)
03 เตาะเละห์ ยาดี (เปาะเต๊ะ กูแบอีแก)
04 ปูลายือลาปี (เปาะเต๊ะ กูแบอีแก)
05 อาเนาะ มือนารอ (เด็กเมืองนราฯ /เปาะเต๊ะ กูแบอีแก)
06 มูลอ บืรตือมุง (รุสดี นรา)
07 นาเซะ ปือแมแน (ซูนีตา)
08 สาดู ปาดู (เปาะเต๊ะ กูแบอีแก)
09 กายา แฆและ (เปาะเต๊ะ กูแบอีแก)
10 ปรางา ฮาดู รายอ (เปาะเต๊ะ กูแบอีแก)

"เปาะเต๊ะ กูแบอีแก" คือนักร้องที่ได้รับพูดถึงกันมากที่สุดในเวลานี้ และสำหรับผู้ฟังชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว เปาะเต๊ะคือศิลปินนักร้องผู้มีพรสรรค์อย่างแท้จริง ด้วยความสามารถอันรอบด้าน ที่นอกเหนือจากการร้องเพลงแล้ว เขายังมีความสามารถในการแสดงตลกที่สร้างเสียงหัวเราะให้แก่แฟนเพลงอีกด้วย เปาะเต๊ะเริ่มอาชีพร้องเพลงในแนวเพลงดิเกร์มิวสิคเมื่อประมาณทศวรรษ 2540 แต่ก่อนหน้านี้เขาคือหัวหน้าคณะดิเกร์ฮูลู (คณะกูแบอีแก) ที่พอมีชื่อเสียงอยู่บ้างจากจังหวัดนราธิวาส และสามารถสร้างชื่อเสียงขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นที่รู้จักแก่แฟนเพลงชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทุกวันนี้ เปาะเต๊ะพร้อมกับคู่หูของเขา "อูเซ็ง บือแต" ยังคงรับการร้องเพลงตามงานมงคลและรานรื่นเริงของคนมลายูในที่ต่าง ๆ 

สำหรับอัลบั้มนี้ เปาะเต๊ะเล่าว่าเป็นอัลบั้มพิเศษที่แบ่งรายได้ส่วนหนึ่งเพื่อมูลนิธิเด็กกำพร้ากับผู้ด้อยโอกาส (บาลาดี) และยังถือเป็นอัลบั้มที่ขายดีอัลบั้มหนึ่งอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สังเกตได้ว่า เปาะเต๊ะไม่เคยออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นของตัวเอง เราจึงเห็นว่าทุกอัลบั้มที่มีผลงานของเขาออกมา ไม่ว่าจะเป็นเทปคาสเซต,ซีดีหรือวีซีดี ก็มักจะมีนักร้องคนอื่น ๆ มาร่วมกันออกอัลบั้มเสมอ เปาะเต๊ะให้เหตุผลว่า เป็นความปรารถนาของเขาในการที่จะผลักดันนักร้องหน้าใหม่คนอื่น ๆ มีโอกาสแสดงฝีมือ

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มะเยะ อาเนาะซีงอ (Matyeh Anok-singho): ตะเด๊าะ ฆาซี ตือมูแว

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: Matyeh ชุดที่ 2 ตะเด๊าะ ฆาซี ตือมูแว
ศิลปิน: มะเยะ อาเนาะซีงอ
รายชื่อเพลง:
หน้า 1
01 Takeh Dadah
02 Alea Semulo Jadi
03 Tarah Hidup Ovenayu
04 Mata Jelima
05 Anak Gelenya
06 Tak Dok Kasih Temuvell
หน้า 2
01 Pemuda Harapan Basa
02 Kata Mengata Sama Sedivi
03 Gadis Jaman Sekarang
04 Jangan Muduh Makan Kajeh
05 Saovang Di Topi Kole
06 Dikie Permainan Nayu

เทปคาสเซตชุดที่ 2 ของ "มะเยะ อาเนาะซีงอ" ออกมาในปี พ.ศ. 2535 ก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิตเพียงปีเดียว (พ.ศ. 2536) มะเยะเป็นนักร้องดิเกร์ฮูลูหรือที่เรียกว่า "ตูแก กาโระ" (Tukang Karut) จากจังหวัดนราธิวาสคนแรก ๆ ที่นำเอาทำนอง (Melody) ของเพลงอินเดีย (Soundtrack) มาร้องในการแสดงดิเกร์ฮูลู และก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของเขามาอย่างยาวนาน มะเยะได้รับการยอมรับจากผู้ฟังทั้งในฝั่งรัฐกลันตัน มาเลเซียและในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในฐานะศิลปินดิเกร์ฮูลูคนสำคัญ ช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่นั้น มะเยะได้รับการยกย่องว่าเป็น "คิงส์" (King) แห่งวงการบันเทิงพื้นบ้านอย่างดิเกร์ฮูลู อย่างไรก็ตาม มะเยะออกอัลบั้มเพลงดิเกร์มิวสิคเพียง 3 ชุด (บางคนบอกว่าเพียง 2 ชุด)

อ. ซาลี (Ajarn Zalee): ไอ แอม ซอร์รี

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: ซาลี ชุดที่ 3 ไอ แอม ซอร์รี
ศิลปิน: อ. ซาลี (Zalee)
รายชื่อเพลง:
หน้า A
01 ไอ แอม ซอร์รี
02 ปือมีนะ ยามอ
03 กือเตาะ 40
04 เตาะปูวะ กือเละห์
05 รอฮานี
06 Teda Newana
07 ไอ แอม ซอร์รี (ซาวด์)
หน้า B
01 บาตัส เซ ตีนอ ยาแต
02 บือกูจา
03 ยาแต ตีงา กาแว
04 แดมอ เดาะ ซือตูยู
05 แดมอ ฮีแล ดีมานอ
06 เตาะเซาะ ซือซา
07 บือกูจา (ซาวด์)

อาจารย์ซาลี, นักดนตรีผู้มากด้วยฝีมือจากจังหวัดนราธิวาสเล่าว่า เขาตัดสินใจกลับจากการเที่ยวเตร็ดเตร่และทำงานในประเทศซาอุดิอาระเบียหลังจากที่ได้ฟังเทปคาสเซตเพลงนาสชิด (Nasyid) ของผู้หญิงคนหนึ่งที่ญาติส่งมาให้ เพราะเมื่อได้ยินฟังเสียงอันไพเราะของ "ดะห์ กำปงปีแซ" แล้ว จิตใจของเขาก็หมกมุ่นกับความปรารถนาที่จะเจอเธอให้จงได้ ในที่สุดอาจารย์ซาลีตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่นราธิวาส และก็ได้เจอกับดะห์ กำปงปีแซ ซึ่งต่อมาทั้งสองได้กลายเป็นครอบครัวนักดนตรีอย่างแท้จริง อีกสามสิบปีต่อมา ดะห์ กำปงปีแซ กลายเป็นตำนาน (Legend) ของวงการเพลงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ อาจารย์ซาลีมีบทบาทอย่างมากในการทำดนตรีให้กับธุรกิจเพลงดิเกร์มิวสิคในห้องบันทึกเสียงของบริษัท ซาวด์สตาร์ จำกัด ในยุคต้น ๆ เขาออกอัลบั้มหลายอัลบั้ม และในรูปข้างต้นคือชุดที่ 3 ของเขาเอง

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บารูดิง (Baruding): วอเก ระยะ

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: บารูดิง ชุดที่ 4 วอเก ระยะ
ศิลปิน: บารูดิง
รายชื่อเพลง:
หน้า A
01 วอเก ระยะ (ผู้แทนราษฎรฯ)
02 ซือเด๊ะ ปือเล๊ะ
03 สงครามเปอร์เซีย
04 อาเนาะ ดารอ ฮีแล
05 ปือแมแน
06 มีเตาะ แคเราะ
07 วอเก ระยะ (ซาวด์)
หน้า B
01 ตีนอ บาเกาะ
02 เตาะ กูนอ ฮีโด๊ะ
03 บาแร อาระ
04 ฮาบิ ซือมางะ (หมดกำลังใจ)
05 มูกอ ลีจิง
06 แม่ค้า ลาวา (แม่ค้าคนสวย)
07 สงครามเปอร์เซีย (ซาวด์)

ในปี พ.ศ. 2534 บารูดิงมีผลงานเพลงออกมาในรูปแบบเทปคาสเซตเป็นชุดที่ 4 โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า "วอเก ระยะ" (ผู้แทนราษฎรฯ) และก็เป็นอัลบั้มที่ทำให้บารูดิงกลายเป็นที่รู้จักในหมู่แฟนเพลงอย่างกว้างขวาง รวมทั้งยังประสบความสำเร็จในการขายอย่างล้นหลามอีกด้วย สำหรับอัลบั้มนี้ บารูดิงร้องเพลงในแนวโมเดิร์นดิเกร์มิวสิค (Modern Dikir Music) หรือเพลงดิเกร์มิวสิค ซึ่งแตกต่างจากอัลบั้มชุดแรก ๆ ที่จะออกมาในแนวเพลงพื้นบ้านดิเกร์ฮูลู (Dikir Hulu) กล่าวได้ว่า เมื่อได้รับความสำเร็จกับอัลบั้มชุดนี้ ชื่อของบารูดิงก็ค่อย ๆ ไต่อันดับขึ้นไปอยู่บนทำเนียบตำนานนักร้องมลายูในท้องถิ่น (ที่ยังมีชีวิต) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องจากแฟนเพลงชาวมลายูที่รักในเสียงเพลงของเขาว่าเป็น "ซูเปอร์สตาร์" ตลอดกาล...

มาซีเต๊าะ บูดี (Masitoh Budi): สาวภูธร

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: สาวภูธร (พ.ศ. 2534)
ศิลปิน: มาซีเต๊าะ บูดี (วงบลูสตาร์)
รายชื่อเพลง:
หน้า A
01 นักเต้นภูธร
02 คนไร้คู่
03 รอวันเธอกลับ
04 สาวทุ่งคืนถิ่น
05 เกือบไปแล้ว
06 เหงาใจ
หน้า B
01 Jabehum (ม้าเพื่อนรัก)
02 Rimjim De
03 Kee Satira Pyar
04 หลอกให้ช้ำ
05 อยากจะจเอคนรักเก่า
06 แฟนใครเอาไปคืน

มาซีเต๊าะ บูดี ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีเพลงภาพยนตร์อินเดีย (ภาษาฮินดี) แห่งจังหวัดชายแดนใต้แต่ว่าในอัลบั้มสาวภูธรชุดนี้เป็นอัลบั้มเพลงลูกทุ่งเพียงชุดเดียว ที่เธอได้ร่วมงานกับครูเพลงชาวใต้ชื่อดัง นั่นคือคุณประจวบ วงศ์วิชา (คุณพ่อของเจี๊ยบ เบญจพร) โดยคุณประจวบได้แต่งเพลงให้เธอไว้ถึง 9 เพลง สำหรับการมาร้องเพลงในแนวเพลงลูกทุ่งของมาซีเต๊าะนั้น ก็เพื่อต้องการขยายฐานผู้ฟังให้ครอบคลุมนอกพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแม้ว่าอัลบั้มนี้จะได้รับการตอบรับในหมู่ "เปอมินัท" หรือแฟนเพลงชาวมลายูอยู่บ้าง แต่กระนั้นก็ไม่ถึงกับประสบความสำเร็จมากนัก

บารูดิง & ซารีฟะห์ (Baruding and Sharifah): คอนเสิร์ตดีเกชุด 1

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: คอนเสิร์ตดีเกชุด 1
ศิลปิน: บารูดิง & ซารีฟะห์
รายชื่อเพลง:
หน้า 1
01 แพฆอ กาเมง
02 มัสตรา
03 บารู ตีกอ บูแล
04 บูวะ บือแน
05 ซีกือปิงซูระ
06 กาเซะ ดาแล มีบี
07 บอดอบาฮาตี
หน้า 2
01 สารู สารู
02 บลาดู มิงนุง
03 มาลี ฮาเดะ ฮายี
04 ยังงัน มาเราะกู ซายัง
05 แชมป์มวย
06 กีฬา
07 มาลู มาลู

เมื่อประมาณทศวรรษ 2530 บารูดิงได้ออกอัลบั้มแรกพร้อมกับซารีฟะห์ ซึ่งเป็นภรรยาของเขาในตอนนั้น ซารีฟะห์เป็นคนนำบารูดิงเข้าสู่วงการเพลงดิเกร์มิวสิคและผลักดันให้ได้บันทึกเสียง ทำให้บารูดิงกลายเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงอย่างมากและได้รับความนิยมสูงสุด ในอัลบั้มนี้เป็นเพลงที่ร้องในแนวดิเกร์ฮูลู

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รัม บาซาเอ (Ram Bazae): เพื่อนแท้ dosti

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: รอยรักรอยมลทิน
ศิลปิน: รัม บาซาเอ และ ยูฮัน (วงบลูสตาร์)
รายชื่อเพลง:
หน้า A
01 เพื่อนแท้ Dosti
02 รอยรักรอยมลทิน
03 บูกาลิกา
04 ดวงตาดวงใจ
05 แก้วตาดวงใจ Tombin
06 พหรมจารี
07 Judermekajan
หน้า B
01 Aku bukan kasim mu
02 Spi di malam suye
04 Janji palsu
05 กาบีอาจีนามี
06 Judermekajan 2

เมื่อประมาณต้นทศวรรษ 2530 หรือกว่า 30 ปีที่แล้ว ชื่อของ "รัม บาซาเอ" (คนที่สวมหมวกในรูป) เป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องเพลงอินเดีย ผู้มีเงาเสียงเหมือนกับราฟี่ (Mohammad Rafi) จนกล่าวได้ว่า นักร้องหนุ่มมลายูจากจังหวัดนราธิวาสคนนี้สามารถร้องเพลงภาษาฮินดีได้ดีที่สุด เพลงของรัม บาซาเอ โดยส่วนใหญ่แล้วมาจากเพลงภาพยนตร์อินเดีย ที่โด่งดังมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 เช่น ภายยนตร์เรื่องเพื่อนแท้ (Dosti), รอยรักรอยมลทิน เป็นต้น สำหรับอัลบั้มนี้ เขาออกเทปคาสเซตในนามวงดนตรีบลูสตาร์ ซึ่งเป็นอดีตวงดนตรีที่ตั้งขึ้นมาด้วยการรวมเอานักร้อง และนักดนตรีกลุ่มหนึ่งในบริษัทซาวด์สตาร์ปัตตานี ประกอบด้วยเพลงภาพยนตร์อินเดีย รัม บาซาเอ ขับร้องในภาษาฮินดี ขณะที่หน้า B ของเทป คือแนวเพลงสมัยนิยมที่ขับร้องด้วยภาษามลายูถิ่นปัตตานี (Melayu-Pattani Dialect) หรือที่เรียกว่าเพลงดิเกร์มิวสิค



มูนีเราะห์ (Munirah): อรุณสวัสดิ์


นักร้องเพลงดิเกร์มิวสิค
เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: ชุดที่ 1 อรุณสวัสดิ์
ศิลปิน: มูนีเราะห์ (มูนีเราะห์ ดอรอซะ)
รายชื่อเพลง: 
หน้า A
01 ยาแง จายอ ออแร ยาแต
02 อรุณสวัสดิ์
03 ปาเยาะ จาดี บีนิง แดมอ
04 อาเนาะ ลอกอง
05 ยูปอ ปาตา นารา
06 บูเละห์ กาเซะห์

หน้า B
01 โดนียอ อาเคร์
02 ดิสโก้
03 ปือแมแน
04 ปาเตาะ ฮาตี
05 เอดส์
06 เตาะเสาะห์ แดมอ ตูงู

มูนีเราะห์กับอัลบั้มชุดแรกของเธอในแนวเพลงมลายูปัตตานีร่วมสมัย (Popular Melayu-Pattani Music) หรือที่เรียกกันว่า โมเดิร์นดิเกร์มิวสิค (Modern Dikir Musik) หรือเพลงดิเกร์มิวสิค มูนีเราะห์เป็นคนจังหวัดนราธิวาส เธอเล่าว่าตระกูลของเธอสืบเชื้อสายมาจากผู้สร้างมัสยิดตะโละมาเนาะ มูนีเราะห์ฝึกฝนการร้องเพลงมาจากการเป็นนักร้องเพลงนาสชิด (Nasyid) ตามมัสยิด โดยเริ่มออกตระเวณร้องเพลงนาสซิดตามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่อายุ 16 ปี (พ.ศ. 2528)  ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี มูนีเราะห์มีชื่อเสียงในการร้องเพลงนาสชิด ดังดุท ดิเกร์ฮูลูและเพลงดิเกร์มิวสิค ทั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของไทยและเกือบทุกรัฐของมาเลเซีย เช่น กลันตัน ตรังกานู เป็นต้น ทั้งนี้เธอเคยไปแสดงคอนเสิร์ตร่วมกับนักร้องฝั่งมาเลเซียอยู่เสมอ มูนีเราะห์เลิกร้องเพลงทุกประเภทภายหลังกลับจากพิธีฮัจญ์ที่เมกกะ ซาอุดิอาระเบียเมื่อปี พ.ศ. 2553

เปาะเต๊ะ กูแบอีแก: ในวันที่กลับคืนสู่ความเมตตาของพระเจ้า

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน หลายปีมานี้ผมไม่ได้เข้ามาเขียนอะไรใหม่ ๆ เกี่ยวกับเพลงมลายูเลย เนื่องจากมีพันธกิจมากมายที่ยังทำไม่เสร็จ  อย่างไรก็ตาม เ...