วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มูนีเราะห์: บานา ยาลา

เพิ่มคำอธิบายภาพ
อัลบั้ม: มูนีเราะห์ ชุดที่ 7 บานา ยาลา (พ.ศ. 2547)
ศิลปิน: มูนีเราะห์
รายชื่อเพลง:
01 บานา ยาลา
02 ลากี ฮาโละห์
03 ซูเดาะห์ มาตี
04 โอ มารีละห์
05 ซือซา ดีรี
06 โดนียอ ซูกอ
07 สือกอลอฮ์
08 มิมปี
09 ฮาละ กือซายน์
10 ซือเดะห์ ดี ฮาตี
11 ซูปอ ปาซา มีมู
12 โมนาลีซา
13 ซือซา เตาะ ฆูนอ
14 ปือยายี

วันนี้, ผมขอพูดถึงมูนีเราะห์อีกครั้งหนึ่ง สำหรับนักร้องชาวอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสคนนี้ บางทีเราอาจจะเรียกเธอว่าเป็น "ราชินีเพลงดังดุตแห่งจังหวัดชายแดนภาคใต้" ก็ได้ แม้ว่ามูนีเราะห์จะมีความสามารถในการร้องเพลงได้หลากหลายแนว แต่โดยหลัก ๆ แล้ว ก็เป็นเพลงดิเกร์มิวสิคและเพลงดังดุท ยุคที่รุ่งเรืองสุดของเธอนั้น ว่ากันว่าอยู่ในช่วงที่ทำเพลงออกเป็นแผ่นวีซีดี หรือเป็นช่วงที่เทปคาสเซตถูกแทนที่ด้วยแผ่นซีดีและวีซีดีแล้ว มูนีเราะห์ให้เหตุผลว่า "เพราะผู้ฟังสามารถชมท่าเต้นและดูหน้าตาของเธอได้" มูนีเราะห์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งฝั่งไทย (โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้) และในประเทศมาเลเซีย (โดยเฉพาะรัฐกลันตัน) เธอมักได้รับคำเชิญไปแสดงในประเทศมาเลเซียอยู่บ่อย ๆ  ครั้ง รวมทั้งเคยออกอัลบั้มร่วมกับนักร้องท้องถิ่นจากกลันตันอีกด้วย เพลงส่วนใหญ่ของมูนีเราะห์นั้น ได้รับอิทธิพลจากดนตรีอันหลากหลาย โดยเฉพาะเพลงภาพยนตร์อินเดีย เพลงลูกทุ่ง และเพลงดังดุตจากอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม ยุคหลัง ๆ มูนีเราะห์รับอิทธิพลเพลงดังดุทของอินโดนีเซียอย่างเข้มข้น ผลงานของเธอส่วนใหญ่ก็จะเป็นแนวเพลงดังดุต ถ้าสังเกตท่าเต้นอันเป็นเอกลักษณ์ในเพลงดังดุตของเธอแล้ว สันนิษฐานได้ว่า มูนีเราะห์คงรับเอาอิทธิพลจากกระแสเพลงดังดุตอินโดนีเซียยุคหลังซูฮาร์โตอย่างมาก บางทีนักร้องเพลงดังดุตผู้อื้อฉาวอย่างอีนูล ดาราติสตา (Inul Daratista) อาจมีอิทธิพลต่ออาชีพนักร้องของมูนีเราะห์ในช่วงหลังทศวรรษ 2540 ไม่มากก็น้อย แม้ว่ามูนีเราะห์อาจไม่ได้ถึงกับกลายเป็น "ราชินีควงสว่าน" แบบอีนูลก็ตาม

5 ความคิดเห็น:

เปาะเต๊ะ กูแบอีแก: ในวันที่กลับคืนสู่ความเมตตาของพระเจ้า

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน หลายปีมานี้ผมไม่ได้เข้ามาเขียนอะไรใหม่ ๆ เกี่ยวกับเพลงมลายูเลย เนื่องจากมีพันธกิจมากมายที่ยังทำไม่เสร็จ  อย่างไรก็ตาม เ...